ชวนวัยเก๋าสุดจ๊าบมาเรียนรู้ศัพท์ยุคใหม่สุดปั๊วะ!

วัยเก๋าหลายคนเคยเป็นกันไหม เวลาฟังลูกหลานคุยกัน หรือดูรายการทีวีมักเกิดอาการงง ไม่เข้าใจว่าคำศัพท์นี้แปลว่าอะไรกัน บางทีเราก็ตามไม่ทันภาษาวัยรุ่นสมัยนี้ แต่ไม่ต้องเป็นกังวลไปค่ะ ถึงเเม้จะรุ่นใหญ่แค่ไหน แต่ถ้าใจยังเก๋าเราจะไม่ยอมเก่าเรื่องศัพท์สุดฮิตอย่างเด็ดขาด!

วันนี้ Hello Monday เลยคัดเอาคำพูดติดปากของคนทั้งสองรุ่น ที่มีความหมายใกล้เคียงกันมาเทียบกันให้รู้ไปเลยว่าต่างกันขนาดไหน ทั้งวัยเก๋าและวัยรุ่นจะได้เข้าใจและคุยกันสนุกมากขึ้น รับรองถ้ารู้แล้วเอาไปพูดกับลูกหลานต้องเซอร์ไพรส์แน่นอนค่ะ

💬 เด๊ดสะมอเร่ vs. ตุย
เราใช้คำศัพท์นี้เวลาต้องการบ่น ว่าตายแน่ๆ ไม่รอดแน่
จริงๆแล้วคำว่า เด๊ดสะมอเร่ นั้นเพี้ยนมาจาก ประโยค That’s Amore ที่แปลว่า“ นั่นคือความรัก” จากเพลงที่ดังมากเพลงนึงในยุคของวัยเก๋า
ภาษาคนเก๋: พรุ่งนี้มีสอบ อ่านหนังสือจนจะ “ตุย” เเล้วครับ
ภาษาคนเก๋า: หลานตาสู้ๆ อย่าพึ่ง “เด๊ดสะมอเร่” ซะก่อนล่ะ

💬 จ๊าบ vs. ปั๊วะ/ปัง
สองคำนี้มีความหมายในเชิงบวกว่า “เท่ เยี่ยม สุดยอด”
ภาษาคนเก๋: วันนี้ออกไปกินข้าวกับเพื่อน ชุดนี้ “ปั้วะปัง” หรือยังคะตา
ภาษาคนเก๋า: เอ็งใส่ชุดนี้เเล้ว “จ๊าบ” ไปเลย สวยดี เพื่อนชมแน่ๆ

💬 หมอไม่รับเย็บ vs. บ้ง
สำหรับสถานการณ์ที่ทำให้รู้สึกอับอาย หน้าเเตก ต้องเป็นคำนี้เลยค่ะ
ภาษาคนเก๋: ทำยังไงดีรองพื้นหนูวันนี้ “บ้ง” มาก หน้าขาวกว่าคออีก!!
ภาษาคนเก๋า: โธ่! หลานตา แถมใส่รองเท้าเเตะมาอีก อายเเทนจริงๆ แบบนี้ “หมอไม่รับเย็บ” แน่ๆ

💬 ศรีทนได้ — สตรอง
เวลาจะพูดถึงความอดทน หรือ ความเเข็งแกร่งแล้วเนี้ยก็ต้องสองคำนี้เลย
ภาษาคนเก๋: ต้อง “สตรอง” แค่ไหน ถึงมาทำตำแหน่งนี้ได้นะ
ภาษาคนเก๋า: เพื่ออนาคตที่ดี เรื่องแค่นี้ “ศรีทนได้”

ยังมีศัพท์อีกมากมายที่ฮิตเปลี่ยนไปตามยุคสมัย วัยเก๋าอย่างเราค่อยๆ เรียนรู้และสนุกไปกับมัน แต่ถ้าใครยังมีข้อสงสัยว่า เอ๋! คำนี้แปลว่าอะไรนะเห็นใช้กันบ่อยเหลือเกิน ก็สามารถเอามาถามกันได้บนแอปพลิเคชัน myHelloMonday เลยได้นะคะ

โพสต์จากฮัลโหลมันเดย์