"เทคโนโลยีซินโดรม" อาการติดจอน่ากลัวกว่าที่คิด

พฤติกรรมติดหน้าจอเกิดขึ้นได้ทั้งกับเด็ก, ผู้ใหญ่ หรือแม้เเต่กับวัยเก๋าอย่างเรา เพราะด้วยเทคโนโลยีต่างๆ ที่เข้าถึงได้ง่าย ช่วยอำนวยสะดวกให้กับชีวิตทั้งใช้ในการติดต่อสื่อสาร ใช้เพื่อการผ่อนคลาย ใช้ในการทำงาน หรือใช้ค้นหาข้อมูลต่างๆ ที่เป็นประโยชน์
แต่รู้หรือไม่คะ การใช้อุปกรณ์เหล่านี้มากเกินไป ส่งผลเสียตามมาทั้งกับสุขภาพ ร่างกาย เเละจิตใจของวัยเก๋าเป็นอย่างมาก จนอาจเกิดเป็นอาการ “เทคโนโลยีซินโดรม” เลยก็ว่าได้ค่ะ
📢 เทคโนโลยีซินโดรมคืออะไร ?
คือ พฤติกรรมการใช้อุปกรณ์ไอที ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือ เเท็ปเล็ต คอมพิวเตอร์ ฯลฯ เป็นระยะยาวเวลา เเละเสพติดการใช้อย่างต่อเนื่องในทุกๆ วัน

☝️อาการแบบนี้ใช่เลย “เทคโนโลยีซินโดรม”
🔻อาการผิดปกติของตา เช่น ตาแห้ง เคืองตา ตาเเดง หรือปวดกล้ามเนื้อกระบอกตาจากการใช้สายตาจ้องจอเป็นระยะเวลานาน หรือ เพ่งสายตาเพื่อจ้องจอในที่ที่มีเเสงน้อย
🔻มีอาการกล้ามเนื้ออักเสบ หรือรู้สึกปวดบริเวณ คอ บ่า ไหล่ เมื่อนวดไปตามจุดต่างๆ มักพบว่ามีอาการตึง ซึ่งเกิดมาจากการนั่งอยู่ในท่าที่ไม่เหมาะสมเป็นเวลานาน
🔻ความผิดปกติของอารมณ์เเละจิตใจ มักรู้สึกหงุดหงิด หรือวิตกกังวลเมื่อไม่ได้ใช้อุปกรณ์ไอที ในบางครั้งขาดสมาธิ ไม่สามารถจดจ้องกับการทำกิจกรรมอะไรได้เป็นระยะเวลานาน


❗️แค่ปรับพฤติกรรม ก็ห่างจากเทคโนโลยีซินโดรมได้
🔸ลดการใช้อุปกรณ์
จัดช่วงเวลาในการใช้งาน หรือจำกัดชั่วโมงที่จะใช้ในเเต่ละวัน เพื่อปรับพฤติกรรมการใช้งานให้พอดี
🔸ทำกิจกรรมอื่นเพิ่ม
ลองหางานอดิเรกอื่นๆ ที่หลุดออกจากโลกออนไลน์ เช่น อ่านหนังสือ ทำอาหาร วาดภาพ ปลูกต้นไม้ ออกกำลังกาย เพื่อเเบ่งเวลากับกิจกรรมที่มีประโยชน์อื่นๆ เพิ่มเติม
🔸พบปะสังสรรค์บ้าง
ออกจากแชทหน้าจอ เเล้วออกไปพบปะเพื่อนฝูง หรือคนในครอบครัวบ้าง เพื่อนการสร้างสัมพันธ์ที่ดี เเละเเน่นเเฟ้นกับคนที่เรารัก
🔸เมื่อเริ่มเป็น ต้องรีบรักษา
เมื่อมีอาการปวดตาให้ใช้เจลเย็นประคบเเล้วนอนพักสายตา หากมีอาการกล้ามเนื้ออักเสบ ลองหยุดกิจกรรมที่ทำอยู่ เเล้วเอนตัวลงนอน หรือในกรณีที่เป็นหนักเเนะนำให้ไปไปพบเเพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
เฉพาะด้าน

อาการเทคโนโลยีซินโดรมน่าเป็นห่วงกว่าที่คิด วัยเก๋าท่านใดที่ติดอุปกรณ์ไอทีอยู่ในตอนนี้ อย่าลืมเเบ่งเวลาในการใช้ให้ดี เเล้วมาใช้เวลาอยู่กับครอบครัว หรือคนที่เรารักให้มากขึ้นกันดีกว่านะคะ 🧡

โพสต์จากฮัลโหลมันเดย์